11 June 2008

กรณีศึกษาที่ 3 : ครอบครัวของสาวโสด



M&W Family Finance
ด ร . สุ ว ร ร ณ ว ลั ย เ ส ถี ย ร : เรื่อง Case # 3:
A SINGLE Family
กรณีศึกษาที่ 3 : ครอบครัวของสาวโสด


นักจิตวิทยาบอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมชอบอยู่กันเป็นหมู่เป็นเหล่า ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงมีครอบครัว มีลูก อย่างไร ก็ตาม สังคมในปัจจุบันมีทิศทางที่ทำให้คน เราต้องพึ่งตัวเองมากขึ้น บางครั้งก็มี ความกดดันในด้านต่างๆ จนไม่อยากจะไป เอาใจใคร หรือขัดใจใคร จึงคิดว่าอยู่คนเดียวจะมีอิสระและสะดวกสบายกว่า หากถามว่าชีวิตโสดกับชีวิตคู่ อย่างไหนจะดีกว่ากัน ก็คงตอบได้สั้นๆ ว่า ดีพอๆ กัน เพราะเปรียบแล้ว คนที่แต่งงานเหมือนคน ที่อยากจะทานข้าวก็ต้องซาวน้ำและหุงข้าว ให้ดี เมื่อข้าวสุกแล้วก็จะทานอิ่มอร่อย แต่ ถ้าหากเร่งไฟแรงไป ข้าวก็จะไหม้ ทานแล้ว ไม่เป็นสับปะรด ซึ่งเทียบได้กับการแต่งงาน หากเข้ากับคู่ชีวิตได้ดี ก็ย่อมจะมีความสุขไป ถึงชั้นลูกชั้นหลาน ในทางตรงกันข้าม คน ที่อยู่เป็นโสดก็เสมือนคนไม่อยากกินข้าวจึงไม่ต้องเสียเวลาไปหุงหา แต่ก็อดลิ้มรส ความสุขของการกินข้าว

สาวโสดรับราชการ
นางสาวลัดดา อายุ 33 ปี ยังไม่แต่งงาน อาชีพรับราชการอยู่กระทรวงแห่งหนึ่ง เงินเดือนปีหนึ่ง ประมาณ 250,000 บาท ลัดดาเคยคบกับผู้ชาย 2-3 คน แต่ก็ไม่ถูกใจ จึงคิดว่าจะอยู่เป็นโสดไป ตลอดชีวิต การเป็นอยู่จึงค่อนข้างเรียบง่ายโดยมีเงินออมปีหนึ่งประมาณ 100,000 บาท ดังนี้



ลัดดาเพิ่งได้รับมรดกจากคุณแม่เป็นที่ดิน อยู่ในละแวกใกล้บ้านซอยสุทธิสารเช่นกัน เธอ เกรงว่าเงินออมปีละเพียง 100,000 บาท จะไม่พอใช้จ่ายเมื่ออายุมาก จึงคิดจะสร้างหอพัก บนที่มรดกเพื่อเปิดให้เช่าประมาณ 80 ห้อง หาก ได้ค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาทต่อห้อง ปีหนึ่งจะได้ค่าเช่าเกือบ 3,000,000 บาท แต่ต้องกู้เงิน 15 ล้านบาท เพื่อก่อสร้าง โดยเบิกเงินกู้ไปแล้ว 4 ล้านบาท ส่วนบ้านที่ซื้อไว้เดิมราคา 1,000,000 บาท ก็ปล่อยเช่าเดือนละ 10,000 บาท ขณะนี้ ราคาตลาดของบ้านปรับขึ้นมาเป็น 2,000,000 บาทแล้ว

1. การกู้เงิน 15,000,000 บาท เพื่อมาสร้างหอพักเป็นความคิดที่ดี แต่ต้องระวังว่าธุรกิจมีทั้งขาขึ้นและขาลง ดังนั้น เงินกู้ดังกล่าวควรเอาเฉพาะที่ดินและอาคารหอพักเป็นประกัน เผื่อ ว่าเมื่อสร้างแล้วเกิดไม่มีผู้มาพัก หรือ ไม่มีเงินผ่อนจ่ายหนี้คืนธนาคารได้เพียงพอ หากในที่สุด ต้องถูกยึด ก็จะได้เสียเฉพาะที่ดิน ส่วนทรัพย์สินอื่นๆ สัญญากู้เงินไม่เปิดโอกาสให้ธนาคาร มาฟ้องร้องเอาไปชำระหนี้ คนเราต้องระวังว่าธุรกิจมีความเสี่ยงอยู่เสมอ จึงควรจำกัดความ เสี่ยงโดยระบุไว้ในสัญญากู้ยืมให้แจ้งชัด อย่าเอาทรัพย์สินส่วนตัวไปผูกพัน

2. หลายคนถามว่าควรทำหอพักในชื่อส่วนตัวหรือในชื่อบริษัท ผมขอแนะนำว่า เนื่องจากที่ดิน มรดกที่ลัดดาได้รับไว้อยู่ในชื่อส่วนตัว จึงควรทำหอพักในชื่อของส่วนตัวไปก่อน เพราะเมื่อ เริ่มต้นยังไม่แน่ว่าจะประสบผลสำเร็จแค่ไหน ต่อไปในภายภาคหน้าเมื่อกิจการเจริญมั่นคง มากขึ้น รายได้เป็นล่ำเป็นสันแล้วหากจะคิดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนมารับช่วงธุรกิจหอพัก ค่อยตัดสินใจอีกทีหนึ่ง การตั้งเป็นบริษัท ลัดดาต้องเอาใจใส่ในเรื่องการทำบัญชี เก็บใบเสร็จ รวมตัวเลขรายได้รายจ่าย ซึ่งถือเป็นภาระอย่างหนึ่ง และหากเป็นคนที่ไม่ถนัดในเรื่องนี้ก็จะต้องจ้างคนมาช่วยดูแล แม้จะมีค่าใช้จ่าย แต่ก็คุ้มที่จะทำ

3. ประเทศไทยไม่มีภาษีมรดก ดังนั้น ที่ดินที่ลัดดาได้รับจึงไม่ต้องเสียภาษีแต่ประการใด ผมเชื่อว่าประเทศเรานี้ไม่มีภาษีมรดก เพราะคนไทยเราก็เสียภาษีนับสิบอย่างแล้ว รัฐบาลควร ไปเก็บภาษีเหล่านั้นให้ทั่วจะดีกว่ามาประกาศใช้ภาษีประเภทใหม่ และขนบธรรมเนียมก็คือ คนไทยจะเก็บทรัพย์สมบัติให้ลูกหลาน

4. เมื่อหอพักเริ่มมีรายได้แล้ว ลัดดาควรเก็บเงินออมเป็นเงินสดให้มากกว่านี้ โดยผมแนะนำ ให้ไปซื้อกองทุนแบ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ครึ่งหนึ่งที่ให้ผลตอบแทน 3-4 เปอร์เซ็นต์ และซื้อกองทุนหุ้นอีกครึ่งหนึ่งซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่า เนื่องจากลัดดาต้องการเก็บเงินไว้ใช้ในระยะยาว การลงทุนในกองทุนหุ้นจะมีโอกาสได้กำไรมากกว่ากองทุนประเภทอื่น เพราะขณะนี้ รัฐบาลดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มจะมั่นคงกว่าสมัยก่อน เพราะกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ

5. เนื่องจากลัดดาเป็นโสดและไม่มีภาระประการใด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องประกันชีวิต เงิน ที่ออมได้ เก็บไปลงทุนเองจะได้ผลเร็วกว่า เพราะการออมเงินผ่านประกันชีวิต ลัดดาจะได้ ผลตอบแทนเพียงครึ่งเดียว เบี้ยประกันอีกครึ่งหนึ่งเป็นผลกำไรของบริษัทประกันและค่า นายหน้าที่ตัวแทนเรียกเก็บ ส่วนเงินที่ให้หลานเป็นค่าเล่าเรียนปีละ 20,000 บาท ก็ให้เท่ากับเป็นการทำกุศลให้แก่ญาติผู้ใกล้ชิด โดยลัดดาอาศัยอยู่กับคุณพ่อซึ่งเกษียณอายุจาก ราชการแล้ว คุณพ่อก็มีเงินบำเหน็จบำนาญใช้ส่วนตัวอยู่แล้ว ไม่ต้องพึ่งพาเงินจากลัดดา

6. การทำธุรกิจอพาร์ตเมนต์ห้องเช่า นอกจากจะต้องเสียภาษีเงินได้โดยค่าเช่าหักรายจ่ายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ 70 เปอร์เซ็นต์ นำมาคำนวณภาษีตามอัตราบุคคลธรรมดา หรือหากให้เช่าในนามของบริษัทก็เสียภาษี 30 เปอร์เซ็นต์ของผลกำไร แต่ถ้าผู้ประกอบกิจการ ลงทุนมาก อาจใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งมีทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ค่าบำรุงรักษา และค่าจ้างพนักงาน นอกจากนี้ ลัดดายังต้องเสียภาษีโรงเรือน 12.5 เปอร์เซ็นต์ของค่าเช่าหรือค่ารายปีด้วย ตามที่เทศบาลหรือเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นจะเรียกเก็บ ซึ่งค่ารายปีนี้อาจเจรจาตกลงกันได้ เพราะห้องเช่ามิใช่จะมีค่าเช่าอัตราเดียวหรือมีผู้เช่าเต็มตลอดทั้งปี ทางราชการมักจะมีสูตรในการคิดค่าภาษีโรงเรือน

ขอขอบคุณ :

No comments:

คนโสด.com